กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ
Office of Asset Administration

ประวัติความเป็นมา

พ.ศ. 2551

สำนักงานบริหารทรัพย์สิน จัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2551 ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2550 ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ “สำนักงานบริหารจัดการสินทรัพย์และวิสาหกิจ ” เป็น “ สำนักงานบริหารทรัพย์สิน” ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องการจัดตั้งหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย พ.ศ 2551 โดยมีหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยให้เกิดผลตอบแทนคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตลอดจนการจัดเก็บผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย มีภาระงานหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการทรัพย์สิน การจัดหาประโยชน์จากที่ราชพัสดุ และอาคารราชพัสดุในความดูแลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และในรูปทรัพย์สินอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยมี คณะกรรมการบริหารทรัพย์สิน กำกับดูแล ซึ่งมีการแบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 6 ฝ่าย ได้แก่

  1. ฝ่ายบัญชีและการเงิน
  2. ฝ่ายกฎหมาย
  3. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
  4. ฝ่ายเอกสารสนเทศ และ
  5. ฝ่ายนโยบายวางแผนและพัฒนา
  6. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด

พ.ศ.2557

ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2557 ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 ได้จัดตั้งสำนักงานบริหารทรัพย์สินเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย ที่เป็นหน่วยงานเฉพาะภารกิจ คือ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัย และหรือสร้างความเป็นเลิศเฉพาะทาง

พ.ศ.2562

          สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2562 ประกาศยุบเลิกสำนักงานบริหารทรัพย์สิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป และให้โอนย้ายทรัพย์สินและบุคลากรของสำนักงานบริหารทรัพย์สินไปยังกองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ สำนักงานมหาวิทยาลัย โดยแบ่งหน่วยงานย่อยภายในของกองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ ดังนี้

  1. งานอำนวยการ
  2. งานกิจการพิเศษ

ปรัชญา

หน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการทรัพย์สินเพื่อการพัฒนาอย่างคุ้มค่า ก่อให้เกิดประโยชน์และรายได้สูงสุดแก่มหาวิทยาลัย

วิสัยทัศน์

เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทรัพย์สินเพื่อการพัฒนาอย่างคุ้มค่า ก่อให้เกิดประโยชน์และรายได้สูงสุดแก่มหาวิทยาลัย

พันธกิจ

1.  จัดเก็บผลประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
2.  ประสานงานและสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพย์สินมหาวิทยาลัย
3.  สร้างกิจกรรมเพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
4.  วางแผนการใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
5.  วางระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินให้โปร่งใส ตรวจสอบได้
6.  จัดทำฐานข้อมูลทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
7.  รายงานผลการดำเนินการประจำเดือนและประจำปีให้ผู้บริหารทราบ