กองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ
Office of Asset Administration

ประวัติความเป็นมา

พ.ศ. 2551

สำนักงานบริหารทรัพย์สิน จัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2551 ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2550 ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ “สำนักงานบริหารจัดการสินทรัพย์และวิสาหกิจ ” เป็น “ สำนักงานบริหารทรัพย์สิน” ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่องการจัดตั้งหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย พ.ศ 2551 โดยมีหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยให้เกิดผลตอบแทนคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตลอดจนการจัดเก็บผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย มีภาระงานหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการทรัพย์สิน การจัดหาประโยชน์จากที่ราชพัสดุ และอาคารราชพัสดุในความดูแลของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และในรูปทรัพย์สินอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยมี คณะกรรมการบริหารทรัพย์สิน กำกับดูแล ซึ่งมีการแบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 6 ฝ่าย ได้แก่

  1. ฝ่ายบัญชีและการเงิน
  2. ฝ่ายกฎหมาย
  3. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
  4. ฝ่ายเอกสารสนเทศ และ
  5. ฝ่ายนโยบายวางแผนและพัฒนา
  6. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด

พ.ศ.2557

ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2557 ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 ได้จัดตั้งสำนักงานบริหารทรัพย์สินเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย ที่เป็นหน่วยงานเฉพาะภารกิจ คือ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัย และหรือสร้างความเป็นเลิศเฉพาะทาง

พ.ศ.2562

          สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการประชุมครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2562 ประกาศยุบเลิกสำนักงานบริหารทรัพย์สิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป และให้โอนย้ายทรัพย์สินและบุคลากรของสำนักงานบริหารทรัพย์สินไปยังกองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ สำนักงานมหาวิทยาลัย โดยแบ่งหน่วยงานย่อยภายในของกองบริหารงานทรัพย์สินและกิจการพิเศษ ดังนี้

  1. งานอำนวยการ
  2. งานกิจการพิเศษ

วิสัยทัศน์

“เป็นหน่วยงานหลักที่สร้างรายได้และรักษาสิทธิประโยชน์ จัดการบริการที่เป็นมาตรฐานสามารถตรวจสอบได้”

พันธกิจ

1.  การแสวงหารายได้ ทรัพย์สินและสิทธิ ประโยชน์ตอบสนอง ทิศทางการพัฒนา มหาวิทยาลัย
2.  การพัฒนาการให้บริการ ที่เป็นมาตรฐาน ตอบ สนองต่อผู้ใช้บริการทั้ง ภายในและภายนอก มหาวิทยาลัย
3.  การพัฒนาการบริหาร จัดการองค์กรเชิงรุกตาม หลักธรรมาภิบาล